ลีเมอร์แคะจมูก จุดประกายภารกิจวิทยาศาสตร์

ลีเมอร์แคะจมูก

ภารกิจทางชีววิทยานี้เริ่มต้นขึ้นจากความบังเอิญที่ไปเจอลีเมอร์แคะจมูก

ข่าวสัตว์เลี้ยง ลีเมอร์ที่ว่านี้ไม่ใช่แค่ลีเมอร์ทั่วไป แต่ศาสตราจารย์ อานน์-แคลร์ ฟาเบอร์ จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ถ่ายวิดีโอตัวอาย-อายกำลังเอานิ้วที่ยาวมากของมันแยงเข้าไปในรูจมูกไว้ได้“ฉันอยากรู้ว่าแล้วนิ้วมันเข้าไปอยู่ตรงไหน” เธอบอกกับบีบีซีการประชุมที่ศูนย์ลีเมอร์ดยุค ในสหรัฐฯ ทำให้ศาสตราจารย์ฟาเบอร์และเพื่อนร่วมงานตั้งคำถามว่าต้นตอวิวัฒนาการของพฤติกรรมนี้มาจากไหนอาย-อายเป็นสัตว์กลางคืนในตระกูลไพรเมต ซึ่งพบได้ที่มาดากัสการ์เท่านั้น และจุดเด่นของพวกมันก็คือนิ้วที่ยาวเล็กดูประหลาด ซึ่งใช้เกี่ยวตัวอ่อนของแมลงออกมาจากกิ่งไม้“มันเอานิ้วแหย่เข้าไปจนสุด พอมองความยาวของหัวมัน แล้วก็แบบ… นิ้วมันเข้าไปถึงตรงไหน” เธอเล่าให้ฟัง “ฉันสงสัยว่ามันแหย่นิ้วเข้าไปในสมองเหรอ มันประหลาดมากแล้วก็ดูเป็นไปไม่ได้เลย”คำถามนี้กระตุ้นให้ศาสตราจารย์ฟาเบอร์สนใจเรื่องนี้มาก จนเธอพยายามวิเคราะห์ส่วนหัวอาย-อายด้วยการจำลองกายภาพแบบสามมิติ เพื่อมาดูโครงสร้างหัวเสียใหม่ จากที่ดูเหมือนจะแยงนิ้วเข้าไปในจมูกไม่ได้“มันเข้าไปทางไซนัส (โพรงอากาศข้างจมูก Paranasal Sinuses) แล้วจากไซนัสก็เข้าไปในคอและในปาก” เธออธิบายศาสตราจารย์ฟาเบอร์และทีมนักวิจัยได้ค้นบทความทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับการแคะจมูกในสัตว์อื่นๆ ซึ่งผลงานชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ในนิตยสารทางวิชาการด้านสัตววิทยาระบุว่า ทีมวิจัยพบสัตว์ตระกูลไพรเมต 12 ชนิดที่มีพฤติกรรมแคะจมูก

ลีเมอร์แคะจมูก

ศาสตราจารย์ฟาเบอร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ในส่วนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติในเมืองเบิร์น ชี้ให้เห็นว่ายังมีการศึกษาน้อยมากที่มุ่งเน้นทำความเข้าใจว่าทำไมสัตว์แต่ละชนิด รวมถึงมนุษย์ ถึงมีวิวัฒนาการมาให้มีพฤติกรรมแคะจมูก

ข่าวสัตว์เลี้ยง “เราคิดจริงๆ ว่า มีการศึกษาพฤติกรรมนี้น้อยกว่าที่ควร เพราะมันดูเป็นนิสัยที่แย่มาก” ศาสตราจารย์ฟาเบอร์อธิบาย การศึกษาที่สังเกตพฤติกรรมมนุษย์ได้เผยให้เห็นว่าการแคะจมูกเป็นเรื่องธรรมดามาก มนุษย์ส่วนใหญ่แคะจมูกบ่อย ๆ แต่ไม่กล้ายอมรับออกมา นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาน้อยมากเกี่ยวกับข้อเสีย หรืออาจจะเป็นข้อดี ของการแคะจมูก การศึกษาบางชิ้นก็บอกว่ามันเป็นการแพร่เชื้อแบคทีเรียที่อันตราย แต่ก็มีการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งชิ้นที่บอกว่า การแคะจมูกและกินเข้าไปอาจจะทำให้ฟันแข็งแรงก็ได้ เพราะพบว่าคนที่แคะจมูกฟันผุน้อยกว่าคนอื่นการศึกษาอีกหนึ่งชิ้นแนะนำให้มีการทำวิจัยเพิ่มเติม โดยแนะนำว่าการกินขี้มูกอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันได้ เพราะมีโปรตีนเสริมภูมิคุ้มกันศาสตราจารย์ฟาเบอร์กล่าวว่า การแคะจมูกอาจมีเหตุผลในการวิวัฒนาการก็ได้ จึงควรมีการสำรวจเรื่องนี้“เราไม่รู้เลยว่าหน้าที่ของมันคืออะไร” เธอบอกกับบีบีซี “แล้วมันอาจจะมีข้อดีก็ได้”แทนที่จะรู้สึกขยะแขยง มันอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับบางสปีชีส์ก็ได้ แล้วก็มีสัตว์หลายชนิดที่มีพฤติกรรมแบบนี้ ศาสตราจารย์ฟาเบอร์