กสศ. ร่วมเครือข่ายอาชีวะ สร้างโอกาส นร.ยากจน ด้อยโอกาส เรียนต่อสายอาชีพ

ร่วมเครือข่าย 6

กสศ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายอาชีวะ จัดประชุมวิชาการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2565 สร้างโอกาส นร.ยากจน-ด้อยโอกาส เรียนต่อสายอาชีพ ปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ

ข่าวการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ร่วมจัดประชุมวิชาการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2565 “สร้างคน สร้างโอกาส สร้างงาน ด้วยการศึกษาสายอาชีพ”เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงคือแรงกระเพื่อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งการให้ทุนเพื่อผลิตกำลังคน 2,500 คนต่อปี เป็นช่องทางสำคัญที่ กสศ.ยังช่วยยกระดับสายอาชีพเชื่อมต่อกับโรงเรียนมัธยมศึกษารวมถึงการนำพาเด็กหลุดจากระบบเข้ามาสู่รั้วอาชีวศึกษา ถือเป็นกระบวนการสอดคล้องเป้าหมายรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศ”ถ้าอาชีวะฯ แข็งแกร่ง ประเทศจะได้รับอานิสงส์จากการขับเคลื่อนของ กสศ. ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ดี” เรืออากาศโทสมพร กล่าวดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงของ กสศ. ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ที่คัดเลือกโดยสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วม มีจำนวนนักศึกษาทุนสะสมทั้งหมด 9,614 คน เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 300 กว่าคน สำเร็จการศึกษาแล้ว 3,056 คน

ร่วมเครือข่าย 6

“โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เป็นเรือธงของ กสศ. ที่เป็นส่วนหนึ่งโอกาสทางการศึกษาสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 9

ข่าวการศึกษา ที่ต้องการให้เด็กเยาวชนไทยหลุดจากกับดักความยากจน และกับดักรายได้ปานกลาง เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากเราพัฒนา มุ่งมั่น สนับสนุน ผลักดันเยาวชนที่ขาดโอกาสไปสู่ทางสายอาชีพ จะช่วยให้เขาหลุดจากกับดักความยากจน ไม่เพียงมีรายได้ปานกลาง แต่สามารถไปสู่รายได้สูงในอนาคต” ผู้จัดการ กสศ. กล่าวกสศ. ยังดำเนินการพัฒนาตัวแบบสถานศึกษานวัตกรรมจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน, วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี, วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค), วิทยาลัยเทคนิคพังงา นอกจากนี้ได้ทำงานเชิงรุกเพื่อพัฒนาสถานศึกษาตัวแบบร่วมกับภาคเอกชนขณะที่ นายพรเทพ เจริญผลจันทร์ ผู้จัดการชุมชนสัมพันธ์ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รูปแบบการให้ทุนของ กสศ. คือโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านระหว่างสถานประกอบการ และสถานศึกษา เนื่องจาก กสศ. ไม่เพียงให้ทุนกับนักศึกษา แต่ยังให้ทุนกับสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อผลิตนักศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการได้.กสศ. ยังดำเนินการพัฒนาตัวแบบสถานศึกษานวัตกรรมจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน, วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี, วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค), วิทยาลัยเทคนิคพังงา นอกจากนี้ได้ทำงานเชิงรุกเพื่อพัฒนาสถานศึกษาตัวแบบร่วมกับภาคเอกชนขณะที่ นายพรเทพ เจริญผลจันทร์ ผู้จัดการชุมชนสัมพันธ์ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รูปแบบการให้ทุนของ กสศ. คือโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านระหว่างสถานประกอบการ และสถานศึกษา เนื่องจาก กสศ. ไม่เพียงให้ทุนกับนักศึกษา แต่ยังให้ทุนกับสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อผลิตนักศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการได้

แนะนำข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  สารวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566